วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

        *** วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคน และอาจารย์ได้ให้ข้อสอบกลับไปทำ โดยนัดส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557

ครั้งที่15


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์

ในคาบนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่อง เด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้


 LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ 
      การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
      กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
      สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู

ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD 
      -มีความบกพร่องทางการพูด
      -มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
      -มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
      -มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
      -การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
      -มีความบกพร่องทางการรับรู้
      -มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
      -มีอารมณ์ไม่คงที
      -โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
      -มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
      -มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
      -เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
      -มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน  

ครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม

      1. ด้านสุขภาพอนามัย
  
      2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  
      3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  
      4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  

การส่งเสริมพัฒนาการ
     พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
     สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
     สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
     ลดปัญหาพฤติกรรม
     คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )
    ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด
         ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
    ส่งเสริมความสามารถเด็ก
         การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
         ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
         เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         การให้การเสริมแรง ดีก็ชม
    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)
        โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
        ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
        ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
        ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
        การสื่อความหมายทดแทน (AAc)
   การสื่อความหมายทดแทน
        การรับรู้ผ่านการมองเห็น
        โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS
   การส่งเสริมพัฒนาการ
        ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
        เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
        ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
        เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
        แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
        โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )
        ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
        ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
   การรักษาด้วยยา
        เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย
  การบำบัดทางเลือก
        การสื่อความมหายทดแทน
        ศิลปะกรรมบำบัด
        ดนตรีบำบัด
        การฝังเข็ม
        การบำบัดด้วยสัตว์
  พ่อ แม่
        ลูกต้องพัฒนาได้
        เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
        ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
        หยุดไม่ได้ต้องสู้
        ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
        ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
        ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

      

ครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557

  * ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบในรายวิชา *



ครั้งที่ 12


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 21 มกราคม 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้แจกใบความรู้และอธิบายพร้อมให้นักศึกษาทำความเข้าใจตามไปด้วย

      พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไปพัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
          1.พัฒนาการด้านร่างกาย
          2.พัฒนาการด้านสติปัญญา
          3.พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
          4.พัฒนาการด้านสังคม

     เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น เด็กอายุ 20 เดือน แต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกคิเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9-15 เดือน

     ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่อยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากมารดาบิดา
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิา สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาทและสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ แออัด ยากจน

     สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
            1. โรคพันธุกรรม
            2. โรคของระบบประสาท อาการหลักที่เกิดขึ้นในเด็กคืออาการชัก
            3. การติดเชื้อ
            4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอดิซึม ระบบเผาผลานในร่างกาย พบมากในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการฉีดฮอโมนในตัว ถ้าไม่รับคือโง่ตลอดกาล
            5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  เกิดก่อนกำหนด
            6. สารเคมี ตะกั่ว
            7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน

    แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            1. การซักประวัติ
            2. การตรวจร่างกาย
            3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
                 -การตรวจทางห้องปฏิบัติทางพันธุกรรม
                 -การตรวจด้วยเทคนิค FISH
                 -การตรวจดีเอ็นเอ
                 -การตรวจรังสีทางระบบประสาท
             -การตรวจทางเมตาบอลิก
            4. การประเมินพัฒนาการ
                -การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
                -การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

   แนวทางในการดูแลรักษา
           1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ โดยมาพบถุมารแพทย์และแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อทำการประเมินพัฒนาการเบื้องต้นและหาสาเหตุด้วยเสมอ
           2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
           3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
           4. การส่งเสริมพัฒนาการ หลักการคือพยายามทำให้มีวิธีการเดียวกับการเลี้ยงดูเด็กทั่วไปในชีวิตประจำวัน
           5. ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น หนังสือ หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับเด็กพิเศษ

    สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
           1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
           2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
           3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
           4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
           5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

    บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          1. การตรวจการได้ยิน
          2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
          3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
          4. บริการทางการแพทย์
          5. บริการทางการพยาบาล
          6. บริการด้านโภชนาการ
          7. บริการด้านจิตวิทยา
          8. กายภาพบำบัด
          9. กิจกรรมบำบัด
         10.อรรถบำบัด

ครั้งที่ 11


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 14 มกราคม 2557


* ไม่มีการเรียนการสอนเพราะนักศึกษาหลายคนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ เนื่องจากการปิดถนนในวันที่ 13 มกราคม 2557


ครั้งที่10


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10
                    วันอังคารที่ 7 มกราคม 2557


   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่เตรียมไว้ในสัปดาห์ก่อน
กลุ่ม1 สมองพิการ
          สาเหตุ
             - มีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
             - เด็กคลอดยาก
             - มีอาการดีซ่านอย่างรุนแรงหลังคลอด
             - เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางสมอง
          อาการ
             - พัฒนาการล่าช้า
             - กล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก
             - เคลื่อนไหวผิดปกติ
กลุ่ม2 เด็ก LD
          สาเหตุ
             - ได้รับบาดเจ็บทางสมอง
             - พันธุกรรม
             - สภาพสิ่งแวดล้อม
          อาการ
             - แยกแยะขนาด สี รูปร่างไม่ออก
             - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเวลา
             - ทำงานช้า
             - เขียน อ่าน ตัวอักษรสลับซ้ายกับขวา
             - สมาธิไม่ดี