วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

        *** วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคน และอาจารย์ได้ให้ข้อสอบกลับไปทำ โดยนัดส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557

ครั้งที่15


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์

ในคาบนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่อง เด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้


 LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ 
      การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
      กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
      สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู

ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD 
      -มีความบกพร่องทางการพูด
      -มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
      -มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
      -มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
      -การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
      -มีความบกพร่องทางการรับรู้
      -มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
      -มีอารมณ์ไม่คงที
      -โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
      -มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
      -มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
      -เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
      -มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน  

ครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม

      1. ด้านสุขภาพอนามัย
  
      2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  
      3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  
      4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  

การส่งเสริมพัฒนาการ
     พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
     สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
     สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
     ลดปัญหาพฤติกรรม
     คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )
    ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด
         ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
    ส่งเสริมความสามารถเด็ก
         การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
         ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
         เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         การให้การเสริมแรง ดีก็ชม
    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)
        โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
        ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
        ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
        ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
        การสื่อความหมายทดแทน (AAc)
   การสื่อความหมายทดแทน
        การรับรู้ผ่านการมองเห็น
        โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS
   การส่งเสริมพัฒนาการ
        ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
        เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
        ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
        เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
        แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
        โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )
        ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
        ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
   การรักษาด้วยยา
        เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย
  การบำบัดทางเลือก
        การสื่อความมหายทดแทน
        ศิลปะกรรมบำบัด
        ดนตรีบำบัด
        การฝังเข็ม
        การบำบัดด้วยสัตว์
  พ่อ แม่
        ลูกต้องพัฒนาได้
        เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
        ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
        หยุดไม่ได้ต้องสู้
        ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
        ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
        ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

      

ครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557

  * ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบในรายวิชา *



ครั้งที่ 12


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 21 มกราคม 2557

ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้แจกใบความรู้และอธิบายพร้อมให้นักศึกษาทำความเข้าใจตามไปด้วย

      พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไปพัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
          1.พัฒนาการด้านร่างกาย
          2.พัฒนาการด้านสติปัญญา
          3.พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
          4.พัฒนาการด้านสังคม

     เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น เด็กอายุ 20 เดือน แต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกคิเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9-15 เดือน

     ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่อยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากมารดาบิดา
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิา สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาทและสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ แออัด ยากจน

     สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
            1. โรคพันธุกรรม
            2. โรคของระบบประสาท อาการหลักที่เกิดขึ้นในเด็กคืออาการชัก
            3. การติดเชื้อ
            4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอดิซึม ระบบเผาผลานในร่างกาย พบมากในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการฉีดฮอโมนในตัว ถ้าไม่รับคือโง่ตลอดกาล
            5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  เกิดก่อนกำหนด
            6. สารเคมี ตะกั่ว
            7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน

    แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            1. การซักประวัติ
            2. การตรวจร่างกาย
            3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
                 -การตรวจทางห้องปฏิบัติทางพันธุกรรม
                 -การตรวจด้วยเทคนิค FISH
                 -การตรวจดีเอ็นเอ
                 -การตรวจรังสีทางระบบประสาท
             -การตรวจทางเมตาบอลิก
            4. การประเมินพัฒนาการ
                -การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
                -การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

   แนวทางในการดูแลรักษา
           1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ โดยมาพบถุมารแพทย์และแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อทำการประเมินพัฒนาการเบื้องต้นและหาสาเหตุด้วยเสมอ
           2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
           3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
           4. การส่งเสริมพัฒนาการ หลักการคือพยายามทำให้มีวิธีการเดียวกับการเลี้ยงดูเด็กทั่วไปในชีวิตประจำวัน
           5. ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น หนังสือ หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับเด็กพิเศษ

    สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
           1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
           2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
           3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
           4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
           5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

    บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          1. การตรวจการได้ยิน
          2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
          3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
          4. บริการทางการแพทย์
          5. บริการทางการพยาบาล
          6. บริการด้านโภชนาการ
          7. บริการด้านจิตวิทยา
          8. กายภาพบำบัด
          9. กิจกรรมบำบัด
         10.อรรถบำบัด

ครั้งที่ 11


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 14 มกราคม 2557


* ไม่มีการเรียนการสอนเพราะนักศึกษาหลายคนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ เนื่องจากการปิดถนนในวันที่ 13 มกราคม 2557


ครั้งที่10


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10
                    วันอังคารที่ 7 มกราคม 2557


   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่เตรียมไว้ในสัปดาห์ก่อน
กลุ่ม1 สมองพิการ
          สาเหตุ
             - มีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
             - เด็กคลอดยาก
             - มีอาการดีซ่านอย่างรุนแรงหลังคลอด
             - เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางสมอง
          อาการ
             - พัฒนาการล่าช้า
             - กล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก
             - เคลื่อนไหวผิดปกติ
กลุ่ม2 เด็ก LD
          สาเหตุ
             - ได้รับบาดเจ็บทางสมอง
             - พันธุกรรม
             - สภาพสิ่งแวดล้อม
          อาการ
             - แยกแยะขนาด สี รูปร่างไม่ออก
             - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเวลา
             - ทำงานช้า
             - เขียน อ่าน ตัวอักษรสลับซ้ายกับขวา
             - สมาธิไม่ดี



ครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

                                                                                                    วันอังคาร ที่ 31 ธันวาคม 2556

* เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ *



ครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                                                                                                              วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม 2556


* ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค *

ครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

                                                                                                          วันอังคาร ที่ 17 ธันวาคม 2556

 *วันนี้เป็นวันกีฬาสีของมหาวิทยาลัย อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา

ครั้งที่6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

                                                                                                            วันอังคาร ที่ 10 ธันวาคม 2556

  * เป็นวันหยุดราชการ  เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
                     นรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ


 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

            อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

            รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร 

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

            พระมหากษัตริย์ 
           
            สภาผู้แทนราษฎร 
           
            คณะกรรมการราษฎร 
           
            ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่  3 ธันวาคม 2556

     วันนี้อาจารย์เปิด PowerPoint เนื้อหาการสอนไม่ได้อาจารย์เลยให้เคลียงานที่ค้างอยู่

 ความรู้เพิ่มเติม

เด็กออทิสติก

               ออทิสติกเป็นปัญหาของการเสียพัฒนาการในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการอารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัย จัดว่าเป็นการเสียพัฒนาการที่รุนแรง สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี

              เด็กออทิสติกจะเป็นลักษณะของการเล่นอยู่ในโลกของตัวเอง เด็กอาจจะชอบทำอะไรซ้ำๆ ชอบสังเกตหรือดูอะไรที่เป็นลักษณะการทำงานซ้ำๆ เช่น พัดลม หรือมีความสนใจเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถ ต้นไม้ หรือว่าสิ่งอื่นๆ รอบตัว ซึ่งอาจจะต่างกันไปในเด็กบางคน นอกจากนั้นในเรื่องการเคลื่อนไหวก็อาจจะมีวิธีการเดินเฉพาะตัวของเด็ก ซึ่งก็แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคนเช่นกัน เช่น การเดินเขย่ง เป็นต้น


ข้อสังเกตลูกน้อยออทิสติก
- ดูดนมได้ไม่ดี
- เงียบเฉยเกินไป และไม่สบตา
- ไม่สนใจให้ใครกอดรัด ไม่ชอบให้ใครมายุ่ง
- ไม่ลอกเลียนแบบ ชี้นิ้วไม่เป็น
- ไม่สนใจใคร แต่บางรายอาจติดคนมากจนผิดปกติ
- ท่าทางเฉยเมย ไร้อารมณ์เมื่อถูกชักชวนให้เล่น หน้าจะเรียบเฉยมากหากสังเกตดูดีๆ จะมี     แววเศร้า
- ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก ไม่ส่งเสียงไม่อ้อแอ้
   พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูสังเกตได้ว่าลูกไม่เหมือนเด็กอื่น
- ไม่สนองตอบด้านอารมณ์ ไม่แสดงอาการดีใจให้เห็นหรือทักทายคนที่เด็กชอบ หรือหาก     แสดงก็มากเกินไป
-ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ ถ้าดึงออกจะกรีดร้องอยู่นาน

              เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD)
ผลการสำรวจจาก WHO (World Health Organization) เมื่อปี 2006 พบว่าเด็กร้อยละ 5.9 เป็นโรคสมาธิสั้น ถือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่ชัด อาจเกิดจากได้รับสารพิษบางประเภท เช่น สารตะกั่ว หรือกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ที่มีอาการสมาธิบกพร่อง ลูกก็อาจมีปัญหาเดียวกัน หรืออาจเกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ซึ่งทำหน้าที่คัดกรองสิ่งเร้า ทำหน้าที่บกพร่อง ทำให้เด็กหันไปสนใจสิ่งเร้าที่ไม่เหมาะสมแทนที่จะสนใจสิ่งเร้าที่สำคัญ โดยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บางอย่างมีลักษณะไม่สมดุล สมองจึงทำหน้าที่ไม่ได้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเด็กด้อยปัญญา ตรงกันข้ามเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างจะมีสติปัญญาดีด้วยซ้ำ สามารถแบ่งตามอาการแสดงออก คือ

           สมาธิสั้น – ขาดความสามารถในการจดจ่อเพื่อรับสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งให้นานพอที่จะเรียนรู้ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สมองจะมีความสามารถพิเศษที่จะตัดสิ่งเร้าไม่พึงประสงค์ออกไปได้ และจะรับเฉพาะเรื่องที่สนใจเพียงเรื่องเดียว
       - ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อในการทำงาน การเรียน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
       -ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
       - ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย
       - ทำตามคำแนะนำไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
       - มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
       - หลีกเลี่ยงหรือไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ
       - ทำของหายบ่อยๆ
            ซนมาก– เด็กสมาธิสั้นจะซนกว่าเด็กปกติอย่างเห็นได้ชัด และจะซนเรื่องเดิมได้ไม่นาน มีความเร็วสูง (hyperactive) จึงมักจะมีของแถมเป็นบาดแผลติดตัวอยู่บ่อยๆ ไม่สามารถยับยั้งและควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ อย่างเช่น มักวิ่งชนโต๊ะ แม้จะอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือเจอผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นหน้า เขาก็ยังซนเหมือนเดิม ในขณะที่เด็กทั่วไปจะระวังตัวหรือเกร็งๆ อยู่บ้าง
         - บิดมือหรือเท้า หรือนั่งบิดไปมา
         - ลุกจากที่ในห้องเรียนหรือที่อื่นที่ต้องนั่ง
         - วิ่งไปมา ปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
         - ไม่สามารถเล่นแบบเงียบๆ ได้
         - เคลื่อนไหวตลอดเวลา คล้ายขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์
         - พูดมากเกินไป

          หุนหันพลันแล่น  - ทันทีที่มีอะไรเกิดขึ้นในใจ เขาจะโต้ตอบฉับพลัน ไม่รู้จักรอคอย ไม่รู้จักกาละเทศะ หรือโมโหเพื่อนเมื่อไรก็ใช้กำลังตอบโต้ทันทีเช่น ครูถามว่า "ใครรู้คำตอบบ้างยกมือขึ้น" เด็กปกติจะยกมือ แต่ถ้าเด็กสมาธิสั้นรู้ เขาจะลัดคิวตอบเลย

         - ผลีผลามตอบก่อนจะถามจบ
         - ไม่สามารถรอคอยในแถว
         - พูดแทรกหรือก้าวก่ายเรื่องของคนอื่น

           อาการสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นปัญหาในตอนโตต่อเนื่อง การเรียนตกต่ำ ใจร้อน ชอบชกต่อย ติดเกม ติดบุหรี่หรือยาเสพติด กลายเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ เกเรและซึมเศร้าได้ โดยกุมารแพทย์ทุกคนสามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้ ถ้าพบว่าเป็นจึงจะส่งต่อไปรักษา และมีรายงานว่า 1 ใน 3 สามารถหายเป็นปกติ อีก 1 ใน 3 พอโตแล้วก็ยังมีอาการอยู่ ส่วนอีก 1 ใน 3 ยังคงมีอาการอยู่ แต่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

        เด็กสมาธิสั้นจะถูกดึงจากสิ่งเร้ารอบตัวได้ง่าย เพราะฉะนั้นโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับทำการบ้าน อ่านหนังสือ ควรจัดให้เป็นสัดส่วน ลดสิ่งรบกวนให้น้อย ปรับสิ่งแวดล้อมให้เด็กอยู่ได้อย่างปลอดภัย ลดสิ่งกีดขวางในบ้านให้น้อยลง นอกจากนั้นพาลูกไปสวนสาธารณะ ให้เขาได้ออกกำลังเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่มันเหลือเฟือ พอเหนื่อยมากๆ อาการสมาธิสั้นก็จะดีขึ้น

สังเกตพฤติกรรมลูกสมาธิสั้น
                - ไม่สามารถอยู่นิ่งได้
                - ไม่นั่งอยู่กับที่ขณะรับประทานอาหาร
                - เล่นของเล่นอย่างหนึ่ง ประเดี๋ยวเดียวก็เปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่น
                - ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ
                - เล่นเสียงดังกว่าเด็กอื่นๆ
                - พูดมาก พูดไม่หยุด พูดขัดจังหวะคนอื่นๆ
                - ไม่ชอบแบ่งปัน ไม่อดทนรอเวลาเข้าแถวหรือเวลาเล่นของเล่นที่ต้องแบ่งกัน                       เล่น
               - ชอบแย่งของจากผู้อื่น โดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ถูกแย่ง
               - ประพฤติตัวไม่เหมาะสมอยู่เป็นประจำ
              - ครูผู้ดูแลบ่นว่ามีปัญหาทางพฤติกรรม

ครั้งที่4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2556

  อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ (กลุ่มนี้น่ากลัว)
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมของตยเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
 
   เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ
-วิตกกังวล
-หนีสังคม
-ก้าวร้าว

การจะวัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
-สภาพแวดล้อม
-ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

  ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว

    เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
-เด็กสมาธิสั้น
-เด็กออทิสติก

   เด็กสมาธิสั้น
-เรียกย่อๆว่า ADHD
-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัยหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กหเล่านี้ทางการแพทย์จะเรียกว่า AttenrionDeficit Disorders (ADD)

    ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ้กตา และของใช้ในวัยทารก
-ดูดน้ำ กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายตาอสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ

7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ * เหมือนเด็กปกติทุกอย่างไม่บกพร่องเลย
-เรียกย่อๆว่า L.D (Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหา เพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
 
  ลักษณะของเด้กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-มีปัญหาด้านการอ่านเขียน
-ไม่รู้จักซ้ายขวา
-ซุ่มซ่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-ติดกระดุมไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง

8. เด็กออทิสติก ( Autistic) *รับมือยากมากรุนแรงสุดๆ
-หรือออทิซึ่ง ( Autism)
-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กออทิสติกแต่ละคยจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
 -- ทักษะทางภาษา ต่ำ
 -- ทักษะทางสังคม ต่ำ
 -- ทักษะการเคลื่อนไหว สูง
 -- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดพื้นที่ สูง

   ลักษณะเด็กออทิสติก *โลกส่วนตัวสูงมาก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ใครปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยา อารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
-มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
-ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีที่ต่างจากคนทั่วไป

9.เด็กพิการซ้อน
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

 ** แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ดู VDO ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมสรุปเป็นมายแม็ปส่งในคาบ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2556


 -ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว 
    เรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ และ เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ (Children with Physical and Health  Impairments) มีดังนี้ คือ
    - เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
    - อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
    - มีปัญหาทางระบบประสาท
    - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ  จำแนกได้เป็น 2 ประเภท  
    1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
    2.ความบกพร่องทางสุขภาพ

    1.อาการบกพร่องทางร่างกาย 
         เด็กซีพี (Cerebral Palsy) 
    - เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือ เป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
    - การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน 

อาการของโรค
-อัมพาตเกร็งแขนขา หรือ ครึ่งซีก (Spastic)
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid)
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
-อัมพาตตึงแข็ง (Rigid)
-อัมพาตแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่ 
-จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  (Orthopedic)
   คือ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot)กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่นวัณโรค กระดูก  หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Poliomyelitis)
    คือ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
- แขนขาด้วนแต่กำเนิด ( Limb Deficiency)

โรคกระดูกอ่อน ( Osteogenesis  Imperfeta )

   2. ความบกพร่องทางสุภาพ
     โรคลมชัก (Epilepsy)
    เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง 
   - ลมบ้าหมู (Grand Mal) 
     - เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
   - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
     - มีอาการ ชักชั่วระยะสั้นๆ5-10 วินาที 
     - เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงัก ในท่าก่อนชัก 
     - เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
  - การชักแบบรุนแรง ( Grand Mal) 
     - เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราวๆ 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และ นอนหลับไปชั่วครู่
  - อาการชักแบบ (Partial Complex) 
     - เกิดอาการเป็นระยะๆ 
     - กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา 
     - บางคนอาจเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
  - อาการแบบไม่รู้ตัว (Focal Partial) 
     - เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

โรคอื่นๆ ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคศรีษะโต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เลือดไหลไม่หยุด เป็นต้น

  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
     -มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
     -ท่าเดินคล้ายกรรไกร
     -เดินขากะเผลก หรือ อึดอาดเชื่องช้า
     -ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
     -มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
     -หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปาก หรือ ปลายนิ้ว 
     -หกล้มบ่อยๆ
     -หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

 5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา (Children with Speech and Language Disorders) 
   เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

  1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
     -ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม 
     -เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
     -เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด  เป็นฟาด
  2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
  3.ความผิดปกติด้านเสียง 
     -ระดับเสียง 
     -ความดัง
     -คุณภาพของเสียง
  4.ความผิดปกติทางการพูด และภาษาอันเนื่องมาจาก พยาธิ สภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า (Dysphasia หรือ aphasia) มีดังนี้
    4.1 Motor aphasia 
       -เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก 
       -พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
       -พูดไม่ถูกไวยากรณ์
    4.2 Wernicke 's apasia 
       -เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจ ความหมาย
       -ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
    4.3 Conduction aphasia 
       -เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตาม หรือ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
    4.4 Nominal aphasia 
       -เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ มักเกิด ร่วมไปกับ Gerstmann's syndrome
    4.5 Global aphasia 
       -เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน 
       -พูดไม่ได้เลย
    4.6 Sensory agraphia 
       -เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถาม หรือ เขียนชื่อวัตถุ ก็ ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
    4.7 Motor agraphia 
       -เด็กที่ลอกตัวเขียน หรือ ตัวพิมพ์ ไม่ได้
       -เขียนตามคำบอกไมได้
    4.8 Cortical alexia 
       -เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
    4.9 Motor alexia
       -เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
    4.10 Gerstmann's syndrome
       -ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
       -ไม่รู้ชี้ซ้ายขวา (Allochiria)
       -คำนวณไม่ได้ (Acalculia)
       -เขียนไม่ได้ (Agraphia)
       -อ่านไม่ออก(Alexia)
    4.11 Visual agnosia 
       -เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
    4.12 Auditory agnosia
       - เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำ หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
     -ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
     -ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10เดือน
     -ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
     -หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
     -ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
     -หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถาศึกษา
     -มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
     -ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย